เมนู

แห่งจิต วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือ
นามมรรมที่อิงอาศัย เกิดขึ้น แม้อื่นใด มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า
ธรรมเป็นอัพยากตะ ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา
บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าว
ธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา. บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น
ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณ
ทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

แจกปฏิสัมภิทา 3 ด้วยกิริยาจิต 31 ประเภท


ปฏิสัมภิทา 3 คือ
1. อัตถปฏิสัมภิทา
2. นิรุตติปฏิสัมภิทา
3. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ธรรมเป็นอัพยากตะ

เป็นไฉน ?
มโนวิญญาณธาตุ อันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่
กรรมวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วย
โสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส
วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น
โดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ
สหรคตด้วยอุเขกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคต
ด้วยอุเบกขา วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุต
ด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ ย่อมเจริญรูปาวจรฌาน ฯลฯ ย่อมเจริญ

1. มหากิริยาจิต 8, 2. รูปาวจรกิริยาจิต 5, 3. อรูปาวจลกิริยาจิต 4.